มัสยิดเป็นมากกว่าศาสนสถาน !
อีก ๑ เหตุผล : ทำไมประเทศไทยต้องมี "มัสยิด" ?
เป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่า "มัสยิด" คือศาสนสถานในศาสนาอิสลาม เพื่อให้ชาวมุสลิมได้ใช้เป็นที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาตามที่ชาวมุสลิมทั่วโลกปฏิบัติกัน !!
แต่... สำหรับประเทศไทยนั้น "มัสยิด" เป็นสิ่งบ่งชี้ในแต่ละพื้นที่มากกว่านั้น !!
นั่นคือ "มัสยิด" เป็นสิ่งยึดโยงให้ "ศาสนจักรมีผลผูกพันกับอาณาจักร" ซึ่งได้มีการตราเป็นกฎหมายไว้อย่างชัดเจนใน พ.ร.บ. การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ หมวด ๔ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด (ตั้งแต่มาตราที่ ๒๓ ถึง ๒๙)
ซึ่งมีสาระสำคัญที่น่าสนใจ คือ มาตรา ๒๓ กำหนดไว้ว่า..
"จังหวัดใดมีราษฎรนับถือศาสนาอิสลามและมีมัสยิดไม่น้อยกว่า ๓ มัสยิด ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยประกาศให้จังหวัดนั้นมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และให้ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการ"
นอกจากนั้นอำนาจหน้าที่ใน มาตรา ๒๖ ของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ยังน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง คือ (๑) ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด นั้นๆ
สรุปก็คือ "จังหวัดไหนที่สามารถสร้างมัสยิดได้ครบ ๓ แห่งเมื่อไหร่ ก็จะมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด โดยกฎหมาย และเมื่อไหร่สามารถแต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ครบ ๗๗ จังหวัด เมื่อนั้นก็จะมีที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด ทั่วประเทศตามกฎหมาย"
หมายเหตุ : ขณะนี้มีจังหวัดที่สร้างมัสยิดครบ ๓ แห่งแล้ว จำนวน ๓๙ จังหวัด (ข้อมูลเมื่อ ๓๐ ก.ย. ๒๕๕๘)
ภาพประกอบ : มัสยิดกลาง จังหวัดสงขลา
อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
http://www.cicot.or.th/
cr. ไอดิน ถิ่นธรรม